สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร พระราชธิดาพระองค์ที่ 19 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2420 ทรงเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก (ชั้นทูลกระหม่อม) พระองค์แรกที่มีพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 ชาววังออกพระนามโดยลำลองว่า "ทูลกระหม่อมหญิง" ส่วนพระบิดาทรงเรียกพระองค์ว่า?"ลูกหญิง" มีพระอนุชา 1 พระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพระองค์นี้เล่าลือกันว่าพระรูปโฉมงดงามยิ่งนัก เป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่ประสูติในเศวตฉัตร (เจ้าฟ้าพระองค์แรกในพระองค์เจ้าทักษิณชาฯ สิ้นพระชนม์เสียแต่แรกประสูติ) ซึ่งถ้าหากพระองค์ประสูติเป็นเจ้าฟ้าชาย ก็คงจะได้ดำรงตำแหน่งรัชทายาท
พระองค์ประชวรพระโรคที่พระปัปผาสะและทรงสิ้นพระชนม์ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2465 รวมพระชันษาได้ 46 พรรษา
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 19 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี พระองค์ประสูติเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2420 พระองค์ได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี และรับพระราชทานพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนามเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2430 ชาววังออกพระนามว่า ทูลกระหม่อมหญิง เนื่องจากพระองค์เป็นพระราชธิดาชั้นเจ้าฟ้า (ชั้นเอก) พระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในมีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร โดยทูลกระหม่อมฟ้าหญิงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์เดียวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้รับพระราชทานกรมสูงสุดถึงกรมหลวง รวมทั้งพระนามกรมยังหมายความถึงกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นนามของเมืองหลวงด้วย
เล่ากันมาว่า ก่อนที่สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพระองค์นี้จะประสูติมีเจ้านายสตรีซึ่งเป็นพระธิดาใน กรมหลวงพิชิตปรีชากร (พระองค์เจ้าคัคณางค์) ยังทรงเป็นทาริกาอยู่ เล่าขานนิยมชมชื่นกันในหมู่ชาววังและเจ้านายว่ามีพระรูปโฉมสวยงามนัก คือ หม่อมเจ้าหญิงอาภาพรรณี (ต่อมาในรัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระองค์เจ้า เป็นพระชนนีของ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗) ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง มีพระราชธิดาพระองค์นี้ ความที่สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงมีพระรูปโฉมงดงาม ถึงกับสมเด็จพระราชบิดารับสั่งกับกรมหลวงพิชิตฯ ว่า "ฉันไม่แพ้เธอแล้ว กรมพิชิต" หมายความว่าทรงมี "ลูกสาว" สวยไม่แพ้พระธิดากรมหลวงพิชิตฯ แต่ที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ พระพักตร์และพระรูปโฉมคล้ายคลึงกับ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ผู้ทรงเป็นสมเด็จย่า
ม.ร.ว.หญิงสุดใจ บรรยงกะเสนา ผู้ที่ได้มาพึ่งพระบารมีทูลกระหม่อมหญิงมาตั้งแต่อายุ 11 ปี จนถึงสิ้นพระชนม์ ได้เขียนเล่าถึงทูลกระหม่อมหญิงว่า "ยังมิได้เล่าถึงพระรูปพระโฉมที่งดงามยิ่ง เมื่อทรงพระเจริญพระชันษาแล้ว ทูลกระหม่อมแดง สมเด็จพระบรมราชชนกรัชกาลปัจจุบัน (ร.9) ท่านยังทรงชมว่า"พี่หญิงช่างงามจริง แม้ท่าบ้วนน้ำหมากก็ไม่เหมือนใคร" ส่วนพระมรรยาท พระอิริยาบถ ก็ได้ยินแต่คนสรรเสริญ และยอพระเกียรติ ว่าด้วยพระกุศลที่ได้ทรงทำไว้แต่หนหลังบันดาลให้งามพร้อมทั้งพระรูปโฉม พระนิสัย และน้ำพระทัย เป็นยอดขัตติยนารี" แต่สำหรับในสายตาเด็กๆ อย่าง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงมองว่า ทูลกระหม่อมหญิงนั้น "งามมาก แต่ค่อนข้างน่ากลัว" เนื่องจาก โดยที่ทรงเป็นสมเด็จพระราชธิดาองค์ใหญ่จึงทรงเป็นชั้น "ป้า" ของเจ้านายชั้นพระเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ 5 เป็นส่วนมาก เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถตรัสเรียกว่า ลูกหญิง และผู้อื่นตรัสเรียกและทรงระบุถึงว่า ทูลกระหม่อมหญิง เจ้านายชั้นหลานป้าบางพระองค์ จึงเผลอพระองค์เรียกว่า ทูลกระหม่อมป้าหญิง ดังเช่น พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือเรื่อง เกิดวังปารุสก์ เล่ม 1 ว่า "ทูลกระหม่อมหญิงนั้น ทรงงามมาก แต่ค่อนข้างน่ากลัว" และเมื่อวันหนึ่ง พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ตรัสเรียกทูลกระหม่อมหญิงว่า ทูลกระหม่อมป้าหญิง ก็ทรงถูกตำหนิว่า "อะไรทูลกระหม่อมป้าชายมีที่ไหน"
ท่านหญิงมารยาตรฯ ทรงเล่าประทานไว้ว่าสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีรัตนโกสินทร เมื่อทรงพระเยาว์นั้น ผิวพรรณขาวผุดผ่องไม่มีร่องรอยใดๆ บนพระวรกายเลย จนเป็นที่เกรงกันในเวลานั้นว่า จะมีพระชนม์ไม่ยืน เมื่อมีพระชันษาได้ 1 ปี มีอยู่วันหนึ่งขณะพระพี่เลี้ยงเชิญเสด็จขึ้นเฝ้ารัชกาลที่ 5 ขณะที่สมเด็จพระราชบิดาทรงรับพระองค์ส่งพระราชทานต่อพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ปลายพระขนง (ปลายคิ้ว) ของพระองค์ได้กระแทกกับขอบพาน ทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งทำให้ชาววังโล่งใจว่าทรงมีแผลเป็น และคงจะมีพระชนมายุยืน (ในวังแก้ว : หม่อมเจ้าหญิงมารยาตรกัญญา ดิศกุล) เมื่อพระชันษาได้สิบเอ็ดปี พระองค์ได้ทรงเข้าพระราชพิธีโสกันต์ เมื่อทรงเครื่องสวมชฏาแล้ว สมเด็จพระราชบิดาถึงกับตรัสว่า "ลูกพ่องามปานเทวดา" และเมื่อมีขบวนแห่โสกันต์นั้นมีเกร็ดเชิงซุบซิบเล่าต่อกันมาว่า บรรดาชาวบ้านที่ได้มาเฝ้าชมขบวนแห่ครั้งนั้นต่างก็ออกปากว่า "ลูกท่านงามนัก เลยต้องแห่กันถึงเย็น" อันที่จริงแล้ว สมเด็จพระพันปีหลวงทรงพระประชวรพระโรคปัจจุบันและได้บรรทมหนุนที่พระเพลาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้ ทำให้พระองค์เสด็จไปในพระราชพิธีไม่ได้ จึงทำให้พิธีแห่โสกันต์นั้นต้องเลื่อนไปถึงเย็น
พระองค์ทรงรับราชการเป็นราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและได้มีโอกาสตามเสด็จประพาสต้นหลายครั้ง รวมทั้งตามเสด็จประพาสชวา ซึ่งได้โดยเสด็จออกแขกเมืองร่วมกับพระบรมชนกนาถ
พระกรณียกิจด้านสาธารณกุศลนั้น พระองค์ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อร่วมก่อตั้งสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม (สภากาชาดไทย) และยังทรงดำรงตำแหน่งอุปนายิกาสภาอุณาโลมแดง ร่วมกับเจ้านายฝ่ายในอีกหลายพระองค์ อาทิ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี, พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา, พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นเงิน 200,000 บาท ในโอกาสคล้ายวันประสูติเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2460 ในการสร้างตึกสุทธาทิพย์ ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย นับเป็นพระราชวงศ์ฝ่ายในพระองค์แรกที่ทรงบริจาคเงินสร้างตึกถึง 200,000 บาท นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกพิเศษของสภากาชาดไทย เนื่องจากพระกรณียกิจที่พระองค์เป็นผู้อุปถัมภ์ช่วยเหลือกิจการสภากาชาดมาโดยตลอด
กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน • กรมพระจันทบุรีนฤนาถ • กรมพระยาชัยนาทนเรนทร • กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ • กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส • กรมขุนเทพทวาราวดี • กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช • กรมหลวงนครราชสีมา • กรมพระนครสวรรค์วรพินิต • กรมหลวงปราจิณกิติบดี • กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม • กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ • กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย • กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ • กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ • กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ • กรมหลวงสงขลานครินทร์ • กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี • กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร • กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา
กรมพระเทพนารีรัตน์ • กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ • กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร • กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร • กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา • กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี • กรมขุนสุพรรณภาควดี • กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
กรมพระยาเทพสุดาวดี • กรมพระยาเดชาดิศร • กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร • กรมพระยาบำราบปรปักษ์ • กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ • กรมพระยาวชิรญาณวโรรส • กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช • กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ • กรมพระยาดำรงราชานุภาพ • กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ • กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
กรมพระศรีสุดารักษ์ • กรมพระปรมานุชิตชิโนรส • กรมพระรามอิศเรศ • กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ • กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ • กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ • กรมพระจักรพรรดิพงษ์ • กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ • กรมพระสมมตอมรพันธ์ • กรมพระเทพนารีรัตน์ • กรมพระจันทบุรีนฤนาถ • กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ • กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ • กรมพระนครสวรรค์วรพินิต • กรมพระสุทธาสินีนาฏ • กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ • กรมหลวงธิเบศรบดินทร์ • กรมหลวงนรินทรรณเรศร์ • กรมหลวงจักรเจษฎา • กรมหลวงอิศรสุนทร () • กรมหลวงเทพหริรักษ์ • กรมหลวงศรีสุนทรเทพ • กรมหลวงเสนานุรักษ์ • กรมหลวงพิทักษ์มนตรี • กรมหลวงเทพยวดี • กรมหลวงเทพพลภักดิ์ • กรมหลวงรักษ์รณเรศ • กรมหลวงเสนีบริรักษ์ • กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิสุขวัฒนวิไชย • กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ • กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ • กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา • กรมหลวงวงศาธิราชสนิท • กรมหลวงนรินทรเทวี • กรมหลวงวรศักดาพิศาล • กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ • กรมหลวงพิชิตปรีชากร • กรมหลวงวรเสรฐสุดา • กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ • กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม • กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร • กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์ • กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ • กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร • กรมหลวงปราจิณกิติบดี • กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช • กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ • กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ • กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ • กรมหลวงอดิศรอุดมเดช • กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ • กรมหลวงนครราชสีมา • กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ • กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา () • กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ • กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ • กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี • กรมหลวงสงขลานครินทร์ • กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร • กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ • กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
กรมขุนสุนทรภูเบศร์ • กรมขุนกษัตรานุชิต • กรมขุนอิศรานุรักษ์ • กรมขุนศรีสุนทร • กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ • กรมขุนกัลยาสุนทร • กรมขุนสถิตย์สถาพร • กรมขุนนรานุชิต • กรมขุนธิเบศวร์บวร • กรมขุนพินิตประชานาถ () • กรมขุนวรจักรธรานุภาพ • กรมขุนราชสีหวิกรม • กรมขุนรามินทรสุดา • กรมขุนอนัคฆนารี • กรมขุนเทพนารี • กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล • กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ • กรมขุนขัตติยกัลยา • กรมขุนเทพทวาราวดี () • กรมขุนอรรควรราชกัลยา • กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ • กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา • กรมขุนสุพรรณภาควดี • กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย • กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ • กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี • กรมขุนสิริธัชสังกาศ • กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ • กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา • กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ • กรมหมื่นพิทักษ์เทวา • กรมหมื่นศักดิพลเสพ • กรมหมื่นนราเทเวศร์ • กรมหมื่นนเรศร์โยธี • กรมหมื่นเสนีเทพ • กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ () • กรมหมื่นอินทรพิพิธ • กรมหมื่นจิตรภักดี • กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ • กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ • กรมหมื่นสุนทรธิบดี • กรมหมื่นนรินทรเทพ • กรมหมื่นศรีสุเทพ • กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ • กรมหมื่นเสพสุนทร • กรมหมื่นอมรมนตรี • กรมหมื่นนเรนทร์บริรักษ์ • กรมหมื่นไกรสรวิชิต • กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ • กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ • กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ • กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ • กรมหมื่นถาวรวรยศ • กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา • กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ • กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ • กรมหมื่นภูมินทรภักดี • กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส • กรมหมื่นมนตรีรักษา • กรมหมื่นเทวานุรักษ์ • กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร • กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ • กรมหมื่นอุดมรัตนราษี กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย • กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ • กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช • กรมหมื่นอมเรศรัศมี • กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ • กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ • กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ • กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ • กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ • กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์ • กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ • กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์ • กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร • กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย • กรมหมื่นปราบปรปักษ์ • กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ • กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา • กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ • กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป • กรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร • กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม • กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ • กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ • กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี • กรมหมื่นกวีสุพจน์ปรีชา • กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ • กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส • กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ • กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช • กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย • กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร • กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต • กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ • กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ • กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จเจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน_กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร